แรงลัพธ์ที่กระทำต่อวัตถุเป็นศูนย์
แรงลัพ์ที่กระทำต่อวัตถุมีค่าคงที่
แรงลัพธ์ที่กระทำมีทิศตรงข้ามกับการเคลื่อนที่
แรงลัพธ์จะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับเวลา
ข้อที่ 2)
ใบไม้ทีตกลงสู่พื้นมีความเร่งน้อยกว่า g ในบริเวณนั้นเราจะใช้กฏการเคลื่อนที่ของนิวตันข้อใดอธิบาย
กฎข้อ 1
กฎข้อ 2
กฎข้อที่ 3
กฎข้อที่ 1 และ 2
ข้อที่ 3)
วัตถุในข้อใดมีแรงลัพธ์เป็นศูนย์กระทำ
รถยนต์ที่กำลังแล่นบนถนนด้วยความเร็วลดลง
ลิฟต์ที่กำลังเคลือนที่ลงด้วยความเร่งคงตัว
ลิงที่กระปีนขึ้นต้นมะพร้าวด้วยความเร็วเพิ่มขึ้น
วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่เป็นวงกลมด้วยความเร็วคงที่
ข้อที่ 4)
ถ้าแรงลัพ์ที่กระทำต่อวัตถุเป็นศูนย์ วัตถุจะอยู่ในสถานะใด
หยุดนิ่ง
เคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่
เคลื่อนที่ด้วยความเร่งคงที่
ข้อ 1และ 2
ข้อที่ 5)
ในการเคลื่อนที่แนวตรงของวัตถุ ถ้าระยะทางเคลื่อนที่ไปโดยแปรผันตรงกับเวลาเราสรุปได้ว่า
แรงลัพธ์ที่กระทำต่อวัตถุเป็นศูนย์
แรงลัพ์ที่กระทำต่อวัตถุมีค่าคงที่
แรงลัพธ์ที่กระทำมีทิศตรงข้ามกับการเคลื่อนที่
แรงลัพธ์จะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับเวลา
ลวิทยาศาสตร์ เรื่อง เเรงลัพธ์
2.วิทยาศาสตร์
แรง (Force) หมายถึง สิ่งที่ไปกระทำต่อวัตถุ แล้วทำให้วัตถุนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพของวัตถุ เช่น เปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ เปลี่ยนขนาดของอัตราเร็ว หรือเปลี่ยนขนาด รูปร่างของวัตถุแรง มีหน่วย เป็น นิวตัน (N) (เป็นการให้เกียรติแก่เซอร์ไอแซค นิวตัน ผู้ค้นพบแรงโน้มถ่วงของโลก) แรง เป็น ปริมาณเวกเตอร์ ซึ่งมีขนาดและทิศทาง
นอกจากนี้ นิวตันยังได้อธิบายเกี่ยวกับแรงไว้เป็น กฎต่างๆ 3 ข้อ คือ
กฎข้อ 1 “วัตถุจะรักษาสภาพอยู่นิ่งหรือสภาพเคลื่อนที่อย่างสม่ำเสมอในแนวเส้นตรง นอกจากจะมีแรงลัพธ์ที่ค่าไม่เป็นศูนย์
มากระทำ”
กฎข้อ 2 “เมื่อมีแรงลัพธ์ซึ่งมีขนาดไม่เป็นศูนย์มากระทำต่อวัตถุ จะทำให้วัตถุเกิดความเร่งในทิศเดียวกับ แรงลัพธ์ที่มากระทำและขนาดของความเร่งนี้จะแปลผันตรงกับขนาดของแรงลัพธ์และแปลผกผันกับมวลของวัตถุ
กฎข้อ 3 “ทุกแรงกิริยาจะต้องมีแรงปฏิกิริยาที่มีขนาดเท่ากันและทิศทางตรงข้ามเสมอ”
ชนิดของแรง
แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ
1. แรงในธรรมชาติ หมายถึง แรงที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ เราไม่สามารถอธิบายได้ว่าเพราะเหตุใดจึงเกิดแรงเหล่านี้ขึ้น แต่เรารู้ว่ามีแรงเกิดขึ้นเพราะสามารถทดลองให้เห็นจริงได้
แรงในธรรมชาติจะแบ่งออกเป็นชนิดต่างๆได้ 4 แรง คือ
1.1 แรงโน้มถ่วงของโลก (Gravitation Force) เป็นแรงที่ใกล้ตัวเราที่สุด ทำให้เราไม่หลุดออกไปแล้วอยู่อย่างอิสระเหมือนอยู่ในอวกาศ นิวตัน อธิบายโดยใช้กฎแรงดึงดูดระหว่างมวล คือ “วัตถุ 2 วัตถุที่อยู่ห่างกันจะเกิดแรงดึงดูดซึ่งกันและกัน โดยขนาดของแรงจะแปรผันตรงกับขนาดของมวลทั้ง 2 และแปรผกผันกับระยะห่างระหว่างมวลทั้ง 2 ยกกำลังสอง ”
1.2 แรงแม่เหล็ก ( Magnetic Force) เป็นแรงที่เกิดขึ้นจากแท่งแม่เหล็ก ซึ่งทำจากแร่ แมกนีไทต์ (Magnetite) เป็น ออกไซด์ของเหล็กมีสูตรทางเคมี ว่า Fe3O4 แร่ดังกล่าวนี้มีคุณสมบัติที่ทำให้เกิดแรงขึ้นเองตามธรรมชาติ ดังนี้
1.2.1 เกิดแรงดูดและผลักกับสารบางชนิด แท่งแม่เหล็กธรรมชาติจะเกิดแรงดึงดูดและผลักกับสารต่างๆ ซึ่งเรียกสารต่างๆนี้รวมกันว่า สารแม่เหล็ก (Magnetic Substance) โดยสารแม่เหล็กจะแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
* Ferromagnetic Substance เป็นสารที่แม่เหล็กเกิดแรงดูดอย่างรุนแรงหรือมีแรงแม่
เหล็กกระทำต่อสารประเภทนี้มาก เช่น เหล็กนิกเกิล โคบอลต์
* Paramagnetic Substance เป็นสารที่แม่เหล็กเกิดแรงดูดอย่างอ่อนๆไม่เหมือนชนิดแรง เช่น อะลูมิเนียม แพลทินัม แมงกานีส ออกซิเจน
* Diamagnetic Substance เป็นสารที่แม่เหล็กเกิดแรงผลักต่อสารเหล่านี้ เช่น ฟอสฟอรัส บิสมัท แอนติโมนี
1.2.2 เกิดแรงดูดและผลักกับแท่งแม่เหล็กด้วยกัน ถ้านำแท่งแม่เหล็ก 2 แท่ง เข้ามาใกล้
กัน แท่งแม่เหล็กทั้ง 2 จะเกิดแรงดึงดูดกัน และผลักกัน ถ้านำด้านที่มีขั้วเดียวกันมาใกล้กันจะเกิดแรงผลักกัน แต่ถ้านำด้านที่มีขั้วต่างกันมาใกล้กันจะเกิดแรงดึงดูดกัน
1.2.3 เกิดแรงกระทำต่อสนามแม่เหล็กโลก โลกเปรียบเสมือนมีแท่งแม่เหล็กขนาดใหญ่วางอยู่ในแนวเหนือ ใต้ของโลก โดยขั้วโลกเหนือจะเป็นขั้วใต้ของแม่เหล็ก และขั้วโลกใต้จะเป็นขั้วเหนือของแม่เหล็ก
1.2.4 แรงแม่เหล็กที่กระทำต่อประจุไฟฟ้าที่วิ่งเข้าไปในสนามแม่เหล็ก รอบๆแท่งแม่เหล็กจะมีสนาม
แม่เหล็กเกิดขึ้น ซึ่งสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นจะแสดงทิศทางของแรงแม่เหล็กที่กระทำต่อสารแม่เหล็ก
1.3 แรงไฟฟ้า ( Electromagnetic Force) เป็นแรงที่กระทำต่อวัตถุไฟฟ้าด้วยกัน ซึ่งจะมีทั้งแรงผลักและแรงดูดกัน ผู้ค้นพบประจุไฟฟ้าครั้งแรก คือ นายทาลัส (Thales)
ในปัจจุบันพบว่าประจุที่เกิดขึ้นแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. ประจุบวก (Positive Charge) เป็นประจุที่อยู่บนอนุภาค “โปรตอน” ซึ่งเป็นอนุภาคเล็กๆที่อยู่ในนิวเคลียสของธาตุ โปรตอนแต่ละตัวจะมีจำนวนประจุ อยู่ 1.6 x 10-19 C
2. ประจุลบ (Negative Charge) เป็นประจุที่อยู่บนอนุภาค “อิเล็กตรอน” ที่เป็นอนุภาคที่เล็กที่สุดในอะตอม และวิ่งเป็นวงกลมรอบๆนิวเคลียสของอะตอมของธาตุ อิเล็กตรอน 1 ตัวจะมีจำนวนประจุเท่ากับโปรตอน 1 ตัว แต่เป็นคนละชนิดกัน
แรงผลักและแรงดูดจะทำให้วัตถุที่มีประจุเคลื่อนที่แยกออกจากกันหรือเคลื่อนที่เข้าหากัน ถ้าประจุบวกและลบเคลื่อนที่เข้าหากันพบกันจะรวมกัน ทำให้เป็นกลางทางไฟฟ้า
1.4 แรงนิวเคลียร์ ( Nuclear Force) เมื่อประจุชนิดเดียวกัน 2 ประจุจะต้องอยู่ร่วมกัน ต้องมีแรงมากระทำต่อประจุทั้งสอง เพื่อให้ประจุทั้ง 2 ไม่แยกออกจากกัน เนื่องมาจากแรงผลักของประจุทั้ง 2 แรงที่เกิดขึ้นนี้เรียกว่า “แรงนิวเคลียร์” เพราะเป็นแรงที่เกิดขึ้นบริเวณนิวเคลียสของธาตุ
ในนิวเคลียสของธาตุจะประกอบด้วยอนุภาค 2 ชนิด คือ โปรตอนมีประจุบวก และนิวตรอนเป็นกลาง อนุภาคทั้ง 2 จะติดกันเป็นทรงกลมอยู่ตรงกลางของอะตอมโปรตอนที่อยู่ร่วมกันจะถูกแรงนิวเคลียร์ยึดเหนี่ยวไว้ โดยแรงที่ยึดเหนี่ยวภายในนิวเคลียสจะไม่ได้อยู่ในรูปของแรงแต่อยู่ในรูปของพลังงาน เรียกว่า “พลังงานยึดเหนี่ยว” (Binding Energy) ค่าของพลังงานจะหาได้จากทฤษฎีของ ไอสไตน์ ว่า E = mC2
โดยที่มวลจะหายไปกลายเป็นพลังงาน ภายในนิวเคลียสจะมีมวลส่วนหนึ่งหายไปกลายเป็นพลังงานยึดเหนี่ยว
2. แรงที่เกิดจากการกระทำของสิ่งต่างๆ
แรงที่เกิดจากการกระทำของสิ่งต่างๆ ที่ไปกระทำต่อวัตถุมีอยู่มากหลายชนิดแต่ละแรงที่เกิดขึ้น
จะเป็นผลจากสิ่งที่ไปกระทำต่อวัตถุแตกต่างกัน ซึ่งแรงที่สำคัญๆมีดังนี้
2.1 แรงตึงเชือก (Tension)
2.2 แรงเสียดทาน (Friction Force)
2.3 แรงจากสปริง (Elastic Force)
2.4 แรงหนีศูนย์กลาง
รูปภาพ
วิดีโอ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น