บทที่4

1.    ข้อใดอธิบายความหมายของระบบปิดได้ถูกต้อง
       ก. ระบบที่เกิดการถ่ายเทมวลและพลังงานความร้อนให้แก่สิ่งแวดล้อม
       ข. ระบบที่ไม่เกิดการถ่ายเทมวลและพลังงานความร้อนให้กับสิ่งแวดล้อม
       ค. ระบบที่เกิดการถ่ายเทมวลแต่ไม่ถ่ายเทพลังงานความร้อนแก่สิ่งแวดล้อม
       ง. ระบบที่ไม่เกิดการถ่ายเทมวลแต่ถ่ายเทพลังงานความร้อนแก่สิ่งแวดล้อมได้
2.    ข้อใดเป็นระบบปิดทั้งหมด
       ก. ลูกเหม็นระเหิด-การทำนาเกลือ-ขนมปังปิ้ง
       ข. การเผาขยะ-การต้มน้ำ-การละลายเกลือในน้ำ
       ค. การทำกล้วยตาก-การทำทุเรียนกวน-การอบขนมปัง
       ง. การละลายน้ำตาลในน้ำ-การทำน้ำสบู่-เขย่าน้ำอัดลมกระป๋อง
3.    ข้อความใดถูกต้อง
       ก. อุณหภูมิที่ลดลงหลังการเกิดปฏิกิริยา เป็นผลมาจากปฏิกิริยาดูดความร้อน
       ข. อุณหภูมิที่ลดลงหลังการเกิดปฏิกิริยา เป็นผลมาจากปฏิกิริยาคายความร้อน
       ค. อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นหลังการเกิดปฏิกิริยา เป็นผลมาจากปฏิกิริยาดูดความร้อน
       ง. อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นหลังการเกิดปฏิกิริยา เป็นผลมาจากปฏิกิริยาเคมีทุกชนิด
4.    สัญลักษณ์ (aq) ในปฏิกิริยาเคมีหมายถึงข้อใด
       ก. ของเหลว
       ข. แก๊สผสม
       ค. สารละลายในน้ำ
       ง.สารละลายแอลกอฮอล์
เฉลย
1.1
2.1
3.1
4.2
      






เคมี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เคมี (อังกฤษ: chemistry) เป็นวิทยาศาสตร์สาขาหนึ่งที่ศึกษาในเรื่องของสสาร โดยไม่เพียงแต่ศึกษาเฉพาะในเรื่องของปฏิกิริยาเคมี แต่ยังรวมถึงองค์ประกอบ โครงสร้างและคุณสมบัติของสสารอีกด้วย [1][2] การศึกษาทางด้านเคมีเน้นไปที่อะตอมและปฏิสัมพันธ์ระหว่างอะตอมกับอะตอม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณสมบัติของพันธะเคมี
บางครั้ง เคมีถูกเรียกว่าเป็นวิทยาศาสตร์ศูนย์กลาง เพราะเป็นวิชาช่วยที่เชื่อมโยงฟิสิกส์เข้ากับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติสาขาอื่น เช่น ธรณีวิทยาหรือชีววิทยา[3][4] ถึงแม้ว่าเคมีจะถือเป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์กายภาพแต่
ก็มีความแตกต่างจากวิชาฟิสิกส์ค่อนข้างมาก[5]
มีการถกเถียงกันอย่างมากมายถึงต้นกำเนิดของเคมี[6] สันนิษฐานว่าเคมีน่าจะมีต้นกำเนิดมาจากการเล่นแร่แปรธาตุซึ่งเป็นที่นิยมกันมาอย่างยาวนานหลายสหัสวรรษในหลายส่วนของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตะวันออกกลาง[7]


ทฤษฎี[แก้]


ห้องทดลอง, สถาบันวิจัยชีวเคมี, มหาวิทยาลัยโคโลจญ์
โดยทั่วไปเคมีมักเริ่มต้นด้วยการศึกษาอนุภาคพื้นฐาน, อะตอม, โมเลกุล [8]แล้วนั้นมักจะเกี่ยวข้องกับสสาร ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสสารด้วยกันเองหรือปฏิสัมพันธ์ของสสารกับสิ่งที่ไม่ใช่สสารอย่างเช่นพลังงาน แต่หัวใจสำคัญของเคมีโดยทั่วไปคือการปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารเคมีด้วยกันในปฏิกิริยาเคมี โดยสารเคมีนั้นมีการเปลี่ยนรูปไปเป็นสารเคมีอีกชนิดหนึ่ง นี่อาจจะรวมไปถึงการฉายรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าสู่สารเคมีหรือสารผสม (ในเคมีแสง) ในปฏิกิริยาเคมีที่ต้องการแรงกระตุ้นจากแสง อย่างไรก็ตาม ปฏิกิริยาเคมีนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของเคมีซึ่งศึกษาสสารในด้านอื่นๆ อีกมากมาย ตัวอย่างเช่น นักสเปกโตรสโคปีนั้นจะศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างแสงกับสสารโดยที่ไม่มีปฏิกิริยาเกิดขึ้น

ประวัติศาสตร์[แก้]

วิวัฒนาการของวิชาเคมีแบ่งออกเป็นยุคต่างๆ ดังนี้

ยุคก่อนประวัติศาสตร์ - ค.ศ. 500[แก้]

  • ชาวอียิปต์เป็นชนชาติแรกที่รู้จักใช้วิธีการทางเคมี และคำว่า Chemeia มีปรากฏในภาษาอียิปต์
  • เดโมคริตัส (นักปราชญ์ชาวกรีก) แสดงความคิดเห็นในเรื่องโครงสร้างของสารโดยคิดหาเหตุผลเพียงอย่างเดียว ไม่ได้ทำการทดลองประกอบให้เห็นจริง
  • อริสโตเติล รวบรวมทฤษฎีเกี่ยวกับสสาร โดยสรุปว่า สสารต่างๆ ประกอบขึ้นด้วยธาตุ 4 อย่าง คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ในสัดส่วนที่ต่างกันสำหรับสสารที่ต่างชนิดกัน

ยุคการเล่นแร่แปรธาตุ ค.ศ. 500 - ค.ศ. 1500[แก้]

ดูบทความหลักที่: การเล่นแร่แปรธาตุ
  • นักเคมีสนใจในเรื่องการเล่นแร่แปรธาตุให้เป็นทองคำ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ประมาณ ค.ศ. 1100
  • ความรู้ทางเคมีได้แพร่เข้าสู่ยุโรป ในปลายยุคนี้นักเคมีล้มเลิกความสนใจการเล่นแร่แปรธาตุ
  • เริ่มสนใจค้นคว้าหายาอายุวัฒนะที่ใช้รักษาโรค

ยุคการเสาะแสวงหายาอายุวัฒนะ (ค.ศ. 1500 - 1600)[แก้]

  • เป็นยุค Latrochemistry
  • นักเคมีพยายามค้นคว้าหายาอายุวัฒนะและบรรดายารักษาโรคต่างๆ

ยุคปัจจุบัน (ค.ศ. 1627 - 1691)[แก้]

  • เริ่มต้นจาก Robert Boyle "ศึกษาเคมีเพื่อเคมี"
  • Robert Boyle "ศึกษาเคมีเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของเคมีโดยเฉพาะ" และ "ใช้วิธีการทดลองประกอบการศึกษาเพื่อทดสอบความจริงและทฤษฎีต่างๆ"
  • เลิกล้มทฤษฎีของอริสโตเติลที่เกี่ยวกับดิน น้ำ ลม ไฟ
  • ลาวัวซิเยร์ (ค.ศ. 1743 - 1794) เป็นผู้ริเริ่มเคมียุคปัจจุบัน
  • สตาฮ์ล (Stahl : ค.ศ. 1660 - 1734) ตั้งทฤษฎีฟลอจิสตัน (Phlogiston Theory)
  • ลาวัวซิเยร์ ตั้งทฤษฎีแห่งการเผาไหม้ขึ้น ยังผลให้ทฤษฎีฟลอจิสตันต้องเลิกล้มไป
  • John Dalton (ค.ศ. 1766 - 1844) ตั้งทฤษฎีอะตอม ซึ่งเป็นรากฐานของเคมีสมัยใหม่ แต่ทฤษฎีอะตอมก็ต้องล้มเลิกไป เนื่องจากอะตอมที่แสดงพฤติกรรมได้ทั้งอนุภาคและคลื่น

สาขาวิชาย่อยของวิชาเคมี[แก้]

วิชาเคมีมักแบ่งออกเป็นสาขาย่อยหลัก ๆ ได้หลายสาขา นอกจากนี้ยังมีสาขาทางเคมีที่มีลักษณะที่ข้ามขอบเขตการแบ่งสาขา และบางสาขาก็เป็นสาขาที่เฉพาะทางมาก
เคมีวิเคราะห์ 
เคมีวิเคราะห์ (Analytical Chemistry) คือการวิเคราะห์ตัวอย่างสาร เพื่อศึกษาส่วนประกอบทางเคมีและโครงสร้าง.
ชีวเคมี 
ชีวเคมี (Biochemistry) คือการศึกษาสารเคมี ปฏิกิริยาเคมี และ ปฏิสัมพันธ์ทางเคมีที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิต
เคมีอนินทรีย์ 
เคมีอนินทรีย์ (Inorganic Chemistry) คือการศึกษาคุณสมบัติและปฏิกิริยาของสารประกอบอนินทรีย์ อย่างไรก็ตามการแบ่งแยกระหว่างสาขาทางอินทรีย์และสาขาอนินทรีย์นั้น ไม่ชัดเจน และยังมีการเหลื่อมของขอบเขตการศึกษาอยู่มาก เช่นในสาขา organometallic chemistry
เคมีอินทรีย์ 
เคมีอินทรีย์(Organic Chemistry) คือการศึกษาโครงสร้าง, สมบัติ, ส่วนประกอบ และปฏิกิริยาเคมี ของสารประกอบอินทรีย์
เคมีฟิสิกส์ 
เคมีเชิงฟิสิกส์(Physical Chemistry) คือการศึกษารากฐานทางกายภาพของระบบและกระบวนการทางเคมี ตัวอย่างที่เห็นก็เช่น นักเคมีเชิงฟิสิกส์มักสนใจการอธิบายการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในเชิงของพลังงาน สาขาที่สำคัญในกลุ่มนี้รวมถึง
  1. เคมีอุณหพลศาสตร์ (chemical thermodynamics)
  2. เคมีไคเนติกส์ (chemical kinetics)
  3. เคมีควอนตัม (quantum chemistry)
  4. กลศาสตร์สถิติ (statistical mechanics)
  5. สเปกโตรสโคปี (spectroscopy)
สาขาอื่นๆ 

มโนทัศน์พื้นฐาน[แก้]

โมเลกุล[แก้]

โมเลกุลเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของสารประกอบบริสุทธิ์ ประกอบด้วยอะตอมตั้งแต่ 2 อะตอมขึ้นสร้างพันธะต่อกัน

สารละลาย[แก้]

สารละลายอาจเป็นธาตุ สารประกอบ หรือของผสมจากธาตุ หรือสารประกอบมากกว่า 1 ชนิด สสารส่วนใหญ่ที่พบเห็นในชีวิตประจำวันจะอยู่ในรูปของผสม

อ้างอิง[แก้]

  1. "What is Chemistry?". Chemweb.ucc.ie. สืบค้นเมื่อ 2011-06-12. 
  2. Chemistry. (n.d.). Merriam-Webster's Medical Dictionary. Retrieved August 19, 2007.
  3. Theodore L. Brown, H. Eugene Lemay, Bruce Edward Bursten, H. Lemay. Chemistry: The Central Science. Prentice Hall; 8 edition (1999). ISBN 0-13-010310-1. Pages 3-4.
  4. Chemistry is seen as occupying an intermediate position in a hierarchy of the sciences by "reductive level" between physics and biology. See Carsten Reinhardt. Chemical Sciences in the 20th Century: Bridging Boundaries. Wiley-VCH, 2001. ISBN 3-527-30271-9. Pages 1-2.
  5. Is chemistry a branch of physics? a paper by Mario Bunge
  6. See: Chemistry (etymology) for possible origins of this word.
  7. http://etext.lib.virginia.edu/cgi-local/DHI/dhi.cgi?id=dv1-04
  8. ^ Matter: Atoms from Democritus to Dalton by Anthony Carpi, Ph.D.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น